... IT SoCieTy ... Blog สังคมยุคใหม่ของคนทันสมัยในยุคไอที .... แหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ปูปัญญา ให้ก้าวไกล....

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

IT Society



ยินดีต้อนรับสู่ Blog ..IT Society
ภายใน Blog นี้จะรวบรวมบทความที่น่าสนใจต่างๆเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ทั้งซอฟร์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์และการ UpdateIT




หวังว่าทุกท่านที่ได้เข้ามาเยี่ยมชม Blog ของพวกเราจะได้รับความรู้ดี ๆ กลับไปไม่มากก็น้อย




ขอบคุณครับ




By...IT Society Group@SDU
Read more >>

คลิกเพื่ออ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ซอฟต์แวร์ HP PolyServe ใหม่ล่าสุด

ซอฟต์แวร์ HP PolyServe ใหม่ล่าสุด

ซอฟต์แวร์ HP PolyServe ใหม่ล่าสุด ซึ่งช่วยขยายขอบเขตของการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นให้เหนือกว่าวิธีการทำเวอร์ช่วลแมชชีนแบบเดิมที่ใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ซอฟต์แวร์ HP PolyServe เป็นการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นสำหรับฐานข้อมูล และไฟล์บนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งให้ผลการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และพร้อมทั้งให้เซิร์ฟเวอร์สามารถให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้เกินความคาดหมาย อันเนื่องมาจากการลดการจัดเก็บข้อมูลที่ซ้ำซ้อนและลดเวลาการโอนถ่ายข้อมูลไปยังที่จัดเก็บหลายๆ แห่ง และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์ HP PolyServe ช่วยทำให้ประโยชน์ของการทำเวอร์ช่วลไลเซชั่นเพิ่มมากขึ้นโดยรองรับเซิร์ฟเวอร์ทุกแพลทฟอร์ม หรือเซิร์ฟเวอร์ที่มีสเปคของเครื่องหรือแม้กระทั่งระบบปฏิบัติการที่มีเวอร์ชั่นแตกต่างกัน

เหนือกว่าด้วยวิธีการประมวลผล ซอฟต์แวร์ HP PolyServe ทำงานในรูปแบบที่เรียกว่า “one-out-of-many” หรือ Grid-enabled Virtualization ซึ่งรวบรวมทรัพยากรด้านการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่มากมายเข้าไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน จึงสามารถเรียกใช้งานได้ทุกขณะเมื่อต้องการ การใช้ซอฟต์แวร์ HP PolyServe ร่วมกับซอฟต์แวร์ HP EFS Clustered Gateway จะทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถโอนถ่ายแอพพลิเคชั่นจากเซิร์ฟเวอร์ที่มีการทำงานอย่างหนักไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ยังว่างได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยวิธีการอันง่ายดายเช่นเดียวกับการลากและวางไอคอนบนหน้าจอเดสก์ท็อป

ซอฟต์แวร์ HP PolyServe สามารถทำให้ระบบพร้อมที่จะให้บริการได้ตลอดเวลาในราคาที่ประหยัดกว่าโซลูชั่นอื่นๆ อันเนื่องมาจากมีความสามารถในการเริ่มต้นการทำงานของแอพพลิเคชั่นได้ใหม่โดยอัตโนมัติ หากมีเซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเกิดปัญหา หรือเมื่อแอพพลิเคชั่นไม่ตอบสนองบนเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานอยู่ ทั้งนี้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องทำการติดตั้งระบบใหม่ด้วยตัวเอง และไม่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของแอพพลิเคชั่น ลูกค้าที่ใช้งานพบว่าซอฟต์แวร์ HP PolyServe ช่วยลดค่าใช้จ่ายประจำปีด้านการบริหารจัดการระบบลงได้สูงสุดถึงร้อยละ 70 ในขณะที่ยังเพิ่มความยืดหยุ่นในการดำเนินการธุรกิจ และประสิทธิภาพการทำงานที่เกินขอบเขตที่มีในปัจจุบัน จากเครื่องที่เป็นเวอร์ช่วลเซิร์ฟเวอร์

ความสามารถที่แตกต่าง หัวใจสำคัญของโซลูชั่นซอฟต์แวร์ HP PolyServe คือระบบเซิร์ฟเวอร์แบบเมทริกซ์ หรือเทคโนโลยีการแชร์ข้อมูล (share data) อันประกอบด้วยระบบการจัดกลุ่มไฟล์ (cluster) ซึ่งทำให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานในรูปแบบ scale-out ซึ่งเป็นการขยายจำนวนแอพพลิเคชั่น หรือเซิร์ฟเวอร์ตามมาตรฐานเดิมให้เพิ่มมากขึ้น มีความพร้อมในการให้บริการลูกค้าสูงและมีการบริหารจัดการความจุที่ยืดหยุ่น ทั้งยังประกอบด้วยการบริหารจัดการที่มีความง่ายดาย เทคโนโลยีการแชร์ข้อมูล (share data) ช่วยให้เซิร์ฟเวอร์ทุกตัวสามารถอ่านและเขียนข้อมูลภายในระบบเครือข่ายการจัดเก็บข้อมูล SAN storage pool เดียวกันได้ (สามารถรวม LUN เป็น shared data เดียวได้) นอกจากนี้ การจัดกลุ่มข้อมูล (cluster) ทำให้ฐานข้อมูล หรือไฟล์เซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ถูกรวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งกลุ่มใหญ่ภายในระบบคอมพิวเตอร์และระบบจัดเก็บข้อมูล พร้อมกันนี้ ยังทำให้การเชื่อมต่อของลูกค้าเข้ากับเซิร์ฟเวอร์เป็นแบบเวอร์ช่วล จึงช่วยขจัดความยุ่งยากของการติดตั้งระบบของเซิร์ฟเวอร์หรือระบบจัดเก็บข้อมูลใหม่ด้วยตัวเอง (manual reconfiguration) เมื่อแอพพลิเคชั่นหรือข้อมูลได้ถูกโอนถ่ายไปยังแพลทฟอร์มใหม่ ตามความต้องการใช้งานของแอพพลิเคชั่น เนื่องจากข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลทั้งหมดสามารถเข้าถึงได้จากเซิร์ฟเวอร์ทุกตัว ฐานข้อมูลจึงสามารถโอนถ่ายระหว่างเซิร์ฟเวอร์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่มีความจำเป็นต้องคัดลอกข้อมูลใหม่เพื่อโอนถ่ายฐานข้อมูล (database instances) จากเซิร์ฟเวอร์เครื่องหนึ่งไปยังเซิร์ฟเวอร์อีกเครื่อง เซิร์ฟเวอร์และระบบจัดเก็บข้อมูลสามารถเพิ่มเข้าไปในกลุ่ม (cluster) หรือแอพพลิเคชั่น โดยที่มีผลกระทบต่อความพร้อมใช้งานน้อยที่สุด

บทความ : http://www.pantip.com/tech/market/newproducts/detail.php?815

ภาพประกอบ : http://www.pantip.com/tech/market/newproducts/detail.php?815

Read more >>

คลิกเพื่ออ่านต่อ

มาแล้วจ้า..ฮาร์ดไดรฟ์ที่เร็วที่สุดในโลกรุ่นบาราคูดา

เอ็กซ์ที (Barracuda XT)


ฮาร์ดไดรฟ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความเร็วและมีความจุสูงที่สุดในโลก รุ่นบาราคูดา เอ็กซ์ที (Barracuda® XT) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่หมุนด้วยความเร็ว 7200 รอบต่อนาที มีความจุในการจัดเก็บข้อมูล 2 เทราไบต์และมีอินเตอร์เฟซแบบ ซีเรียล เอทีเอ (ซาต้า) 6 กิกะบิตต่อวินาที (Serial ATA (SATA) 6Gb/second interface) ที่ทำงานเร็วมาก ไดรฟ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะขนาด 3.5 นิ้วรุ่นนี้เป็นไดรฟ์รุ่นแรกของอุตสาหกรรมที่มีอินเตอร์เฟซ ซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาที ซึ่งตอบสนองความต้องการด้านความจุของการเล่นเกม (gaming) การใช้งานวิดีโอดิจิตอล (digital video-environments) ตลอดจนระบบปฏิบัติการเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากอื่น ๆ (other storage-hungry desktop computing applications) ในขณะเดียวกันยังสามารถทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุด

การเปิดตัวไดรฟ์บาราคูดา เอ็กซ์ที (Barracuda® XT) เป็นการเปลี่ยนแปลงไปยังความเร็วในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะรุ่นต่อไปเนื่องจากซีเกทได้เพิ่มแบนด์วิธ (bandwidth) ในการจัดเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นปัจจุบันเป็นสองเท่า

“ความจุและประสิทธิภาพในการทำงานยังคงเป็นสิ่งที่ระบุคุณสมบัติของฮาร์ดไดรฟ์สำหรับเครื่องพีซีสำหรับเล่นเกม (PC gamers) บนเครื่องพีซี นักพัฒนาข้อมูลดิจิตอล มัลติมีเดีย (digital multimedia content developers) ตลอดจนลูกค้าอื่น ๆ จำนวนมากซึ่งต้องการระบบไฮ-เอ็นด์ที่บ้านและในสำนักงานของพวกเขา” นายเดฟ โมสเล่ย์ รองประธานบริหารฝ่ายขายและการตลาดของซีเกท (Dave Mosley, executive vice president of Sales and Marketing at Seagate) กล่าว “ซีเกทกำลังตอบสนองความต้องการเหล่านี้ด้วยการนำเสนอฮาร์ดไดรฟ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่หมุนด้วยความเร็ว 7200 รอบต่อนาทีรุ่นแรก ที่ผสมผสานความจุในการจัดเก็บข้อมูล 2เทราไบต์กับอินเตอร์เฟซ ซีเรียล เอทีเอ (Serial ATA interface) ที่เร็วที่สุดในปัจจุบัน

”ผลิตภัณฑ์บาราคูดา เอ็กซ์ที (Barracuda® XT) เป็นไดรฟ์ที่ประกอบด้วยแพล็ตเตอร์ (platter) จำนวน 4 แผ่น ซึ่งมีความหนาแน่นในการบีบอัดข้อมูล 368 กิกะบิตต่อตารางนิ้วอันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด มีอัตราการส่งข้อมูลสูงถึง 6 กิกะบิตต่อวินาที สำหรับระบบปฏิบัติการพีซีทุกประเภท ซึ่งยังคงมีศักยภาพในการใช้งานกับอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานหรือรูปแบบที่เก่ากว่า (backward compatibility) ด้วยอินเตอร์เฟซ ซาต้า 3 กิกะบิตต่อวินาที (SATA 3Gb/second interface) และซาต้า 1.5 กิกะบิตต่อวินาที (SATA 1.5Gb/second) รวมทั้งใช้สายและอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมือนกับผลิตภัณฑ์ซาต้ารุ่นก่อนเพื่อทำให้ติดตั้งได้ง่าย อินเตอร์เฟซแบบซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาที (SATA 6Gb/s interface) ทำให้ผู้สร้างระบบใช้คอนโทรลเลอร์ของไดรฟ์ ที่เป็นซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาที (SATA 6Gb/s drive controllers) ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับตั้งโต๊ะที่มีประสิทธิภาพสูง ระบบการเล่นเกมที่มีความเร็วสูง (full-tilt gaming rigs) ตลอดจนเครื่องแม่ข่ายภายในบ้านและธุรกิจขนาดย่อม (home and small business servers) และแคชขนาด 64 เมกกะไบต์ (64MB cache) ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลและมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงสุด

“มาร์เวลล์ (Marvell) มีความยินดีที่จะประกาศเกี่ยวกับโซลูชั่นซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาที (SATA 6Gb/s solution) ซึ่งจะมีจำหน่ายเป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมและการทำงานร่วมกับซีเกทเพื่อเปิดตัวเทคโนโลยีนี้” ดร. อลัน เจ. อาร์มสตรอง รองประธานฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจจัดเก็บข้อมูลของมาร์เวลล์ (Dr. Alan J. Armstrong, vice president of Marketing, Business Storage Group at Marvell) กล่าว “มาร์เวลล์ ได้ทำงานร่วมกับกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจและลูกค้าจำนวนมากเพื่อนำโซลูชั่นนี้ออกสู่ตลาด อัสซุส (ASUS) และกิกะไบต์ (GIGABYTE) ในฐานะที่เป็นผู้ใช้เทคโนโลยีของมาร์เวลล์ ซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาที (SATA 6Gb/s technology) เป็นรายแรก ๆ ได้นำเสนอมาเธอร์บอร์ด (motherboard) เพื่อใช้งานกับฮาร์ดไดรฟ์ซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาทีด้วย”

โซลูชั่นซีเรียลเอทีเอ 6 กิกะบิตต่อวินาที: ไดรฟ์บาราคูดา เอ็กซ์ทีและมาเธอร์บอร์ดจากอัสซุสและ กิกะไบต์

ด้วยไดรฟ์บาราคูดา เอ็กซ์ทีและมาเธอร์บอร์ดซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาทีจากอัสซุสและกิกะไบต์ ผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถผลิตเครื่องพีซี (PCs) เวิร์คสเตชั่น (workstations) และเครื่องแม่ข่ายระดับเริ่มต้น (entry-level servers) ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อัสซุสเป็นรายแรกที่นำมาเธอร์บอร์ด ซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาทีออกสู่ตลาด โดยผลิตภัณฑ์รุ่นพี7พี55ดี พรีเมี่ยม (P7P55D Premium) ได้จัดส่งไปยังลูกค้าในเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา ส่วนมาเธอร์บอร์ดของกิกะไบต์ในซีรี่ส์ พี55 (P55 series) รุ่นจีเอ-พี55 เอ็กซ์ตรีม (GA-P55-Extreme) กำลังถูกจัดส่งไปยังลูกค้าอยู่ในขณะนี้

“ที่อัสซุส เราอยู่ในแถวหน้าในเรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อีกครั้งโดยการเป็นรายแรกที่เปิดตัวมาเธอร์บอร์ด อินเตอร์เฟซ ซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาที” นายโจ ไซ รองประธานฝ่ายบริหารและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจมาเธอร์บอร์ดและกล่มธุรกิจเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของอัสซุส (Joe Hsieh, corporate vice president & general manager, Motherboard Business Unit & Desktop Business Unit, ASUS) กล่าว “บริดจ์ (bridge) ที่กว้างขึ้นและนำไปใส่ไว้ในผลิตภัณฑ์ พี7พี55ดี พรีเมี่ยม (P7P55D Premium) ช่วยทำให้การส่งผ่านข้อมูลด้วยซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาที เกิดขึ้นจริง เพื่อตอบสนองความต้องการของระบบปฏิบัติการที่ต้องการแบนด์วิธ (bandwidth)สูง โซลูชั่นของอัสซุสช่วยขจัดคอขวด (bottleneck) ในการจัดส่งข้อมูลในเทคโนโลยีปัจจุบันและสร้างความมั่นใจว่าผู้ใช้จะได้รับประโยชน์จากความเร็วของข้อมูลที่สูงขึ้นและแบนด์วิธในการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า สำหรับผลิตภัณฑ์รุ่นอื่นใน ซีรี่ส์ พี7พี55ดี พรีเมี่ยม อัสซุสจะนำเสนอ expansion card เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีประสิทธิภาพเหมือนกับรุ่น จีเอ-พี55 เอ็กซ์ตรีม”

“กิกะไบต์ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับพันธมิตรทางธุรกิจของเราอย่างซีเกทและมาร์เวลล์ในการทำให้เทคโนโลยี ซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาที กลายเป็นความจริง” นายโทนี่ เลียว รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายการตลาดของบริษัท กิกะไบต์ เทคโนโลยี จำกัด (Tony Liao, associate vice president of Marketing at GIGABYTE TECHNOLOGY CO., LTD.) กล่าว “ในฐานะผู้นำในการสร้างสรรค์มาเธอร์บอร์ด กิกะไบต์มีความตื่นเต้นอยู่เสมอในการนำเทคโนโลยีล่าสุดออกสู่ตลาด และด้วยการเปิดตัวฮาร์ดไดรฟ์ซาต้า 6 กิกะบิตต่อวินาทีรุ่นแรกของโลกจาก ซีเกท ความคาดหวังจากลูกค้าของเราได้กลายเป็นความจริงด้วยประสิทธิภาพของแบนด์วิธที่เพิ่มเป็นสองเท่าสำหรับการโอนถ่ายและการจัดเก็บข้อมูลที่เร็วราวกับสายฟ้าแลบ”

ซีเกทจะสาธิตเทคโนโลยี ซีเรียล เอทีเอ 6 กิกะบิตต่อวินาทีในงานไอดีเอฟ (Seagate to Demonstrate Serial ATA 6Gb/s Technology at IDF)

ซีเกทจะสาธิตเทคโนโลยี ซีเรียล เอทีเอ 6 กิกะบิตต่อวินาทีร่วมกับพันธมิตรทางด้านเทคโนโลยีในบูธ ซีเรียล เอทีเอ อินเตอร์เนชั่นแนล ออแกไนเซชั่น (ซาต้า-ไอโอ) (Serial ATA International Organization (SATA-IO) booth) เลขที่ 425 ในงานไอดีเอฟ (IDF) ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน ศกนี้ ณ มอสโคน เซ็นเตอร์ (Moscone Center) ในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย

บทความ

: http://www.pantip.com/tech/market/newproducts/detail.php?848

ภาพประกอบ

: http://www.pantip.com/tech/market/newproducts/detail.php?848

Read more >>

คลิกเพื่ออ่านต่อ

ปัญหาเด็กติดเกม



ปัญหาเด็กติดเกม นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในอดีตผู้ตกเป็นเหยื่อของเกมส่วนใหญ่จะเป็นผู้เล่นที่ได้รับผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ฟุ่มเฟือย เหม่อลอย การเรียนตกต่ำ มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หนักที่สุดก็แสดงความก้าวร้าวหรือมีพฤติกรรมเลียนแบบโดยใช้ความรุนแรง ล่าสุด เด็กนักเรียนม.6 ฆ่าคนขับรถแท็กซี่ตาย โดยวางแผนมาอย่างดี และอ้างว่าเลียนแบบเกมออนไลน์ ผลกระทบอันเนื่องมาจากเด็กติดเกม หากมองให้ลึกซึ้งถึงรากเหง้าของปัญหาอาจไม่ใช่แค่เพราะ เด็กติดเกม แต่เป็นเพราะทั้งเด็กและผู้ใหญ่ขาดวิจารณญาณในการเลือก และที่สำคัญผู้ผลิตขาดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม เพราะเกมบางเกมที่ผู้ผลิตคิดและสร้างสรรค์มาอย่างดี มีเป้าหมายเพื่อสร้างการเรียนรู้ เสริมสร้างพัฒนาการทั้งทางจิตใจและสังคม เป็นเกมสีขาวที่น่าส่งเสริมให้เด็กๆ เล่น แต่เกมไม่สร้างสรรค์กลับมีปริมาณมากมายกว่าเกมสีขาวหลายเท่าตัว แถมยังหาเล่นง่าย ราคาไม่แพง ที่สำคัญไม่เพียงแต่เกมเท่านั้นที่ส่งผลกระทบกับเด็กและเยาวชน แต่เว็บไซต์ที่เด็กและเยาวชนสามารถท่องไปในโลกที่พวกเขาอยากรู้อยากเห็นได้อย่างง่ายดาย โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เป็นปัจจัยเสริมให้เด็กเลียนแบบพฤติกรรมผิดๆ ปัญหาคือ เราจะสร้างเกราะป้องกันทั้งเกมและเว็บไซต์ไม่สร้างสรรค์นี้อย่างไรเพื่อให้เด็กหันมาสนใจเกมสีขาวตระหนักในบทบาทหน้าที่ของเด็กและเยาวชนและมีวิจารณญาณในการเล่นมากขึ้น ต่อปัญหาดังกล่าว กรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวมาโดยตลอด จึงจัดทำ โครงการอบรมเยาวชนในการสอดส่องและแจ้งเบาะแสการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือ DSI CYBER FORCE ขึ้นมา ตั้งแต่ปี 2547 โดยในปีนี้นับเป็นปีที่ 5 สำหรับโครงการนี้ มีเด็กและเยาวชนผ่านการอบรมในโครงการกว่า 2,000 คน จาก 20 โรงเรียนทั่วประเทศ พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการ สำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า โครงการ DSI CYBER FORCE เป็นโครงการที่เน้นให้ความรู้กับเยาวชนในเรื่องพิษภัยทางอินเทอร์เน็ต เพื่อไม่ให้เยาวชนตกเป็นเหยื่อ หรือเป็นผู้กระทำต่อเหยื่อเสียเอง โดยในการอบรมแต่ละครั้งจะมีทั้งนักเรียนและครูเข้าร่วมอบรม เพื่อเรียนรู้ถึงลักษณะของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ และตระหนักถึงพิษภัยบนอินเทอร์เน็ต รวมทั้งรู้วิธีการแก้ไข การป้องกันภัยทางอินเทอร์เน็ต การรักษาสภาพสถานที่ที่เกิดเหตุ แจ้งเบาะแสเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม และอาชญากรรมอื่นๆ ที่ใกล้ตัว ภัยด้านความมั่นคง ทั้งในการข่าวปกติ หรือที่ได้รับภารกิจเป็นพิเศษ โดยมีการรายงานข่าวหน้าเว็บไซต์ เพื่อความปลอดภัยของผู้แจ้ง รวมทั้งมีการกระจายความรู้ให้บุคคลรอบข้าง พ.ต.ท.พัฒนะ ศุกรสุต พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ 8 สำนักเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่า โครงการมีเป้าหมายเพื่อดึงเยาวชนมาเป็นแนวร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษในการติดตามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเยาวชนส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่ใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตมากกว่าผู้ใหญ่ มีโอกาสเข้าไปสู่การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ดังนั้นการดึงเยาวชนมาร่วมโครงการนี้ นอกจากจะทำให้เด็กเรียนรู้เรื่องพิษภัยจากคอมพิวเตอร์แล้ว ยังสามารถดึงเข้ามาเป็นแนวร่วมแจ้งเบาะแสการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้อีกด้วย ทั้งนี้การอบรมเยาวชนตามโครงการ DSI CYBER FORCE นั้นจะจัดขึ้นทุกๆ ปี โดยแต่ละปีมีเป้าหมายในการอบรมให้ความรู้และดึงเยาวชนระดับมัธยมต้นและปลายเข้ามาเป็นแนวร่วม 600 คน แบ่งการอบรมเป็น 4 รุ่น รุ่นละ 150 คน ซึ่งในปี 2551 นี้มีเป้าหมายเป็นนักเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะเริ่มอบรมระหว่างเดือนสิงหาคม กันยายนนี้ น.ส. รัตนาพร อิ่มอารมณ์ หรือ น้องติ้ง นักเรียนชั้นม.6 โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ หนึ่งในสมาชิกโครงการ DSI CYBERFORCE ที่ผ่านการอบรมจากกรมสอบสวนคดีพิเศษเมื่อปี 2550 กล่าวว่า สนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวเพราะตนเองและเพื่อนส่วนใหญ่มีความชอบส่วนตัวในเรื่องคอมพิวเตอร์และตั้งใจว่าจะเรียนต่อทางด้านนี้ เมื่อเห็นโครงการดังกล่าวจึงตอบรับเข้าร่วมอบรมทันที การเข้าร่วมโครงการได้รับความรู้มากกว่าที่คิด เช่นเรื่องภัยใกล้ตัวบนโลกอินเตอร์เน็ต ทำให้เราตระหนักถึงปัญหามากขึ้น และมีเกร็ดความรู้เรื่องอื่นๆ อีกมาก เช่น Search Engine ในการหาข้อมูล และมีการขยายเครือข่ากรรมทางคอมพิวเตอร์ ทำให้รู้ว่าอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างไร มีกี่ประเภท รู้จักและระวังตัวในการป้องกันมากขึ้น และการอบรมก็เป็นไปอย่างสนุก ไม่น่าเบื่อ รัตนาพร กล่าว น้องติ้ง ยังบอกด้วยว่า ตนและเพื่อนๆ ส่วนใหญ่มีวิถีชีวิตที่ต้องเข้าไปใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตทุกวันไม่ที่บ้านก็ที่โรงเรียน บางคนเข้าร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ หลังจากเข้าร่วมอบรมโครงการ DSI CYBER FORCE ทำให้มีมุมมองในการเข้าอินเตอร์เน็ตต่างไปจากเดิม มีความระมัดระวังมากขึ้น เมื่อก่อนเวลาเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ต แล้วพบพวกเมลล์ขยะเด้งขึ้นมาก็จะกดรับๆ ไปแบบมั่วๆ ไม่ได้ใส่ใจมากนัก แต่ปัจจุบันทำให้รู้ว่าเมลล์ขยะเหล่านั้นบางอันเป็นไฟล์ต้องสงสัยอาจจะไม่ปลอดภัยกับคอมพิวเตอร์ของเรา มีความระมัดระวังมากขึ้น และตอบปฏิเสธเสียส่วนใหญ่ การเข้าร่วมโครงการ DSI CYBERFORCE กับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่เพียงแต่จะทำให้ น้องติ้ง และเพื่อนเยาวชนอีกหลายโรงเรียนเรียนรู้พิษภัยจากอินเตอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังทำให้ น้องติ้ง ตระหนักถึงความสำคัญของโครงการฯและบทบาทหน้าที่ของเยาวชนคนหนึ่ง เมื่อเธอขึ้นมาอยู่ชั้นม.6 ในปีนี้ เธอจึง เลือกทำโครงงานเขียนเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML โดยมีเนื้อหาในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับ การรู้เท่าทันพิษภัยจากอินเทอร์เน็ต การแจ้งเบาะแส การเก็บหลักฐานเบื้องต้น และความรู้อื่นๆ ตามที่ตนเคยได้รับ เพื่อเผยแพร่ให้เพื่อนคนอื่นๆ ได้เรียนรู้ร่วมกัน และเพื่อร่วมขยายเครือข่ายแจ้งเบาะแสอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ตกับ กรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยได้แรงบันดาลมาจากโครงการ DSI CYBER FORCE อาจารย์พันทูร บุญยัง อาจารย์สอนวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ กล่าวว่า โครงงานที่ น้องติ้ง นำเสนอเป็นโครงงานเดี่ยวภายใต้วิชาคอมพิวเตอร์ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเขียนโปรแกรมด้วยตัวเองอย่างอิสระ โดยผลงานของนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกแล้วว่ามีประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคมก็จะลิ้งค์กับเว็บไซต์ของโรงเรียน ส่วนกรณีโครงงานของ น้องติ้ง หากผลงานออกมาเป็นที่พอใจ และกรมสอบสวนคดีพิเศษอนุญาตแล้วก็อาจจะลิ้งค์กับเว็บไซต์ของกรมสอบสวนคดีพิเศษด้วย อย่างไรก็ตามอาจารย์พันทูร กล่าวถึงปัญหาที่น่าเป็นห่วงของเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในขณะนี้ว่า สิ่งสำคัญคือ เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์อย่างไม่รู้จัก และรู้ไม่เท่าทัน คอมพิวเตอร์จึงเป็นเหมือนทางหลายๆ แพร่งบนโลกอินเทอร์เน็ต เพราะหากเด็กหรือเยาวชนเข้าไปโดยไม่มีเป้าประสงค์ที่แน่นอน หรือไม่มีคีย์เวิร์ดที่ชัดเจนว่าจะเข้าไปค้นคว้าเรื่องอะไร ก็มีโอกาสที่จะหลงไปเว็บไซต์อื่นๆ ได้ ประกอบกับเว็บไซต์บางอย่างสร้างขึ้นเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงส่วนร่วม ขาดความรับผิดชอบ ก็ทำให้เยาวชนหลงเชื่อและเลือกทางผิดบ่อยครั้ง นอกจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วก็ต้องตั้งมั่นในเป้าหมายด้วย เพราะหากเอนเอียงเมื่อไหร่ เขาก็อาจหลงเข้าไปในอินเทอร์เน็ตไม่พึงประสงค์ทันที สิ่งสำคัญคือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องช่วยกันให้ความรู้กับเยาวชนในการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกต้องและรู้เท่าทัน โดยไม่ปิดกั้น เพราะการปิดกั้นจะทำให้เกิดความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มขึ้น ดังกรณีโครงการของกรมสอบสวนคดีพิเศษ นับเป็นโครงการที่ดี ซึ่งเปิดกว้างให้เยาวชนเข้าไปใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และสำหรับตนในฐานะอาจารย์สอนวิชาคอมพิวเตอร์และผู้ดูแลระบบอินเทอร์เน็ตแล้วโครงการนี้นับเป็นอีกโครงการที่ดีมากและอยากให้มีต่อไปเรื่อยๆ พ.ต.อ.ญาณพล กล่าวว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษหวังว่าโครงการ DSI CYBER FORCE จะทำให้เยาวชนรู้เท่าทันภัยที่มาจากคอมพิวเตอร์ พร้อมให้คุณค่ากับเยาวชนว่าเขาเป็นผู้มีความสามารถทำความดีให้เพื่อนให้สังคมของเขาได้โดยการเป็นเครือข่ายยุติธรรมของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในการสอดส่องดูแล แจ้งเบาะแสการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ ช่วยเหลือราชการ ประเทศชาติ โดย กรมสอบสวนคดีพิเศษ หวังว่าจะขยายเครือข่ายเยาวชนออกไปให้กว้างขวางและครอบคลุมมากที่สุด





ที่มา http://www.innnews.co.th/crime.php?nid=125793
Read more >>

คลิกเพื่ออ่านต่อ